top of page
Writer's pictureTanasak Pheunghua

Back to Basic

Updated: Jun 1, 2023



ราวปี 2007 มีบริษัทแห่งหนึ่งติดต่อมาให้ช่วยงาน พบปัญหาสีลอก

หลังจากได้พยายามแก้ปัญหามาหลายเดือน ก็วนมาเจอกัน

“คุณดูแปลกๆดี มาช่วยแก้ปัญหาให้หน่อย” ผมจำคำนั้นได้ดี


ตอนนั้น ก็ใช้เวลาแวะเข้าไปดูกระบวนการผลิตสัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 2-3 ชั่วโมง

เอาเครื่องมือวัดแปลกๆ ติดตัวไป ใส่กางเกงยีนส์เสื้อยืด ในโรงงานคงคิดว่าผมเป็นผู้รับเหมา

และเนื่องจากมีความไม่รู้ในพื้นฐานวัสดุที่ใช้ทำชิ้นงานก่อนพ่นสี

เลยต้องแวะไปหาอ่านหนังสือตามห้องสมุด เหตุเพราะสมัยนั้นข้อมูลใน Internet ไม่ได้มากและเร็วเหมือนทุกวันนี้


โรงงานอุตสาหกรรมจำนวนมาในบ้านเรา ถ้าเป็นของต่างชาติมาตั้งฐานผลิต พนักงานของเราอาจทำการผลิตโดยไม่ทราบว่าการออกแบบแต่ละกระบวนการนั้นมี Function ที่สำคัญอย่างไร ส่วนถ้าเป็นของไทยก็จำเป็นต้องลงทุนซื้อเทคโนโลยี และลงสนามแข่งขันเพื่อค้าขาย การทำความเข้าใจในเทคโนโลยีที่ตัวเองไม่ได้ออกแบบมา ก็มักต้องใช้เวลา


ผมใช้เวลารวม 4 สัปดาห์ สรุปสาเหตุ โดยรวบรวมจาก

· การสังเกตหน้างาน

· การวัดค่าบางอย่างในกระบวนการผลิตที่สะท้อนปัญหาสีลอก

· การเชื่อมโยงข้อมูลของเสียกับปัจจัยบางตัวในกระบวนการที่เปลี่ยนไป

· การหา Paper มายืนยันว่าที่ระบุสาเหตุไว้ “พอจะมีแวว” เพื่อขออนุญาตทดลองแก้ปัญหา

· การหาเนื้อหาข้อมูล Fundamental หลักการของการพ่นสีที่ดีมาทวนสอบกับสิ่งที่ทำอยู่


การทดลองในเมืองไทย น้อยรายนักที่จะมี Lab สำหรับทดสอบนอกสายพานการผลิตได้

ส่วนใหญ่ต้องไปทดลองในงานจริง ซึ่งก็จะกระทบการผลิตอีก


ผมส่งรายงาน 50 หน้า เป็นการวิเคราะห์สาเหตุ รวมแหล่งข้อมูลอ้างอิง และผลการทดลองที่ประสบผลสำเร็จ โดยเป็นการแก้ปัญหาที่สาเหตุ และไม่ได้คิดอะไรใหม่

เพียงควบคุมบางค่า ให้อยู่ในย่านที่ควรจะเป็น

เป็นการใช้แนวทาง Back to Basic คือกลับไปทำให้ถูกต้องตามหลักการ

“สีไม่ลอก ถ้าเตรียมผิวดี”


บทสรุป

· ปัญหาทางวิศวกรรม หากใช้การระดมสมองโดยปราศจากพื้นฐานทางวิศวกรรม หรือวิทยาศาสตร์ ทำให้การแก้ปัญหาไม่ถูกจุด

· การแก้ปัญหาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงตามเวลาของปัจจัยในกระบวนการผลิต เป็นจุดอ่อนของหลายบริษัทที่มองไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยนั้น

· การแก้ปัญหาแบบ OFAT (One Factor at A Time) ทำให้ขาดสาระสำคัญของอิทธิพลร่วม (Interaction Effect)

· การทำงานตามหน้าที่ โดยไม่รู้ Function ของงานนั้น ทำให้ขาดการสังเกต ขาดความสามารถในการเชื่อมโยงสาเหตุ เมื่อเกิดปัญหา


การเขียนเล่าเรื่องผลงาน ประสบการณ์ที่เคยแก้ปัญหา หรือ สร้างไอเดียใหม่ รวมถึงไอเดียที่ไม่ถูกใช้งาน

แต่มีความสวยงามในกระบวนการคิด

เป็นการบอกเล่าที่ยากมาก

เพราะเป็นงานของบริษัทที่ให้ความไว้วางใจ มีความลับทางธุรกิจ


กระบวนการเขียนจึงได้ดัดแปลง โดยไม่ระบุชื่อบริษัท และจำลองชื่อผลิตภัณฑ์ กระบวนการ

เพื่อให้เห็นถึงสาระสำคัญเฉพาะในส่วนของการคิด หรือ การแก้ปัญหาเท่านั้น


ธนะศักดิ์ พึ่งฮั้ว

bottom of page